วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 15

Monday 18 November 2019


The knowledge

          เรื่อง ไฮสโคปกับการส่งเสริม EF


กิจกรรมที่ 1
         กิจกรรมแรกที่อาจารย์ให้ทำคือการปรบมือตามจังหวะเพลง และแสดงท่าทางตามใจชอบ และเริ่มทำเป็นกลุ่มใหญ่คือทั้งห้อง อีกทั้งมีการจับคู่ และสลับกับเพื่อนที่คู่ด้วยแสดงท่าทางและทำตาม ถัดมาเป็นการแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 10 คน และให้เพื่อนมายืนกลางวน 1 คน และแสดงท่าทางตอนถึงช่วงเพลงที่หยุด หลังจากนั้นเพื่อนก็เกาะไหล่ตามมา และทำแบบนี้ซ้ำๆ จนหมดกลุ่ม จากนั้นเป็นการทำกิจกรรมการใช้ประสาทสัมผัสและความจำในการเริ่มทำกิจกรรม โดยการเคาะกระดาษบนพื้น และมีการทำเป็นจังหวะ ต่อมาอาจารย์ให้เพิ่มจังหวะเข้ามาใหม่ เป็นการเคาะพื้น และมาตีที่เข่าซ้ายและส่งให้เพื่อนคนที่อยู่ทางด้านขวาของตัวเองและอาจารย์ให้หลับตาทำแบบนี้เช่นเดิม







EF (Executive Functions)


         เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ

         ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย


ไฮสโคป


         แนวการสอนแบบไฮ/สโคป (High / Scope) การสอนเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้พัฒนาคนการเรียนรู้และการสอนทำให้มีการคิดเชื่อมโยงความรู้ได้อย่างรวดเร็วการศึกษาปฐมวัยจึงเป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็ก 6 ขวบแรกเป็นการจักการศึกษาเพื่อการดูแลและสร้างเสริมเด็กให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพด้วยการเรียนรู้ที่ถูกต้องแจ้งชัดลักษณะการจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งจำเพาะไปที่พัฒนาเด็กใจเด็กและอนาคตเด็กได้การสอนเด็กปฐมวัยไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้แต่เป็นการจัดประสบการณ์อย่างมีรูปแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการพัฒนาสมรรถนะทางปัญญาและพัฒนาจิตนิยมที่ดีการเรียนการสอนสำหรับปฐมวัยมีหลากหลายรูปแบบแต่สำหรับรูปแบบที่ผู้เขียนจะนำเสนอนั้นก็เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความน่าสนใจอีกรูปแบบหนึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่ว่านั้นก็คือรูปแบบการเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป



🍓Assessment


💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจร่วมกิจกรรมต่างๆ


💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา  เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับเพื่อนเป็นอย่างดี


💗Teacher : สอนได้เข้าใจ คอยมีคำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่เสมอ




วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Sing-Song


เพลง สวัสดี


เพลง สวัสดีคุณครูที่รัก


 เพลง สวัสดีวันนี้พบกัน


เพลง ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า


เพลง มากินข้าวสิ



วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 14

Monday 11 November 2019




The Knowledge

    วันนี้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการวางแผนการจัดสภาพแวดล้อมของห้องปฎิบัติการ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย และมีบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียน ทุกคนต่างช่วยกันทำกันอย่างเต็มที่




🍓Assessment


💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงาน

💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับอาจารย์

💗Teacher : อาจารย์สอนให้ฝึกความอดทนในการทำงาน




วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 13


Monday 4 November 2019


วันนี้ไม่มีการเรียน เนื่องด้วย
วันที่ 4 และ 5 พฤศจิการยน 2562
คณะรัฐมนตรีจะมีการประชุมสุดยอดอาเซียน
เพื่อลดปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวก
มหาวิทยาลัยจึงขอประกาศเป็นวันหยุดพิเศษ



วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary 12

Monday 28 October 2019


The Knowledge 

          การเรียนในวันนี้ เป็นการเรียนจากวิทยากร ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำสาขาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ผู้ช่วยศาสตรจารย์ กรรณิการ์ สุสม
และเป็นการเรียนการเรียนที่นำทั้งสองเซกมารวมกันเพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง สารนิทัศน์
ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียน อาจารย์จินตนาแจกกระดาษนักศึกษาคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนว่า
💗คนเป็นครูที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
💗เป้าหมายในการมาอบรม

💗 ความหมายสารนิทัศน์


🌼 สารนิทัศน์ มาจากคำว่า “สาระ” หมายถึง ส่วนสำคัญ ถ้อยคำ มาผสมกับคำว่า
“นิทัศน์” หมายถึงตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นดังนั้น “สารนิทัศน์”จึงมีความหมายว่า ส่วนสำคัญที่นำมาเป็นตัวอย่างแสดงให้ผู้อื่นเห็น ในทางการศึกษาปฐมวัยมีคณาจารย์นำสารนิทัศน์มาใช้อย่างหลากหลาย

🌼โดยสารนิทัศน์ให้ประโยชน์ต่อการแสดงภาพของเด็กโดยกระบวนการด้านเอกสารข้อมูลอย่างชัดเจน ดังนั้น การจัดทำสารนิทัศน์ จึงหมายถึง การจัดทำข้อมูลที่เป็นหลักฐานหรือแสดงให้เห็นร่องรอยของการเจริญเติบโต พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มซึ่งหลักฐานและข้อมูลดังกล่าวที่บันทึกเป็นระยะๆ จะเป็นข้อมูลอธิบายภาพเด็ก ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมสติปัญญา และแม้แต่สุขภาพ

🌼คุณค่าและความสำคัญ
🌼รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
🌼กิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้วิธีการไตร่ตรองสารนิทัศน์
🌼ประเภทของสารนิทัศน์
🌼คำถามที่ครูควรใช้ถามเด็กปฐมวัย
🌼การประเมินพัฒนาการทางการคิดของเด็กปฐมวัย
🌼การใช้ผังกราฟฟิกเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย

รูปภาพกิจกรรม






Teaching Methodes
          การสอนจากวิทยากรภายนอก ให้นักศึกษาเกิดการเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ในด้านต่าง ๆ และทำให้การเรียนมีความสนุกสนาน เนื่องด้วยท่านวิทยากรที่มานั้น มีรูปแบบ เทคนิคการสอนที่เป้นกันเอง ทำให้เกิดความสนุกสนาน

Apply
          การนำรูปแบบต่างๆของสารนิทัศน์ไปใช้เขียนเนื้อหาให้มีความครบถ้วน อีกทั้งการใช้กราฟฟิกต่าง ๆ ให้มีความหลากหลาย ให้เด็กเกิดการคิดอย่างเป็นองค์รวมพร้อมทั้งเป็นการจัดระเบียบของข้อมูลด้วย

🍓Assessment


💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม


💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา  เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็ยอย่างดี


💗Teacher : อธิบายได้เข้าใจ มีกิจกรรมต่างๆมาให้เล่น



 

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Diary11


Monday 21 October 2019


🍓Knowledge Summary

สาระสำคัญ
          สาระสำคัญควรเขียนให้เป็นหลักการในภาพกว้าง (principle) สาระสำคัญคือประเด็นความคิดหรือ มโนทัศน์หลัก (Key concept) ของสิ่งที่เรียน ซึ่งจะต้องมีลักษณะเป็นหลักการ ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นการระบุรายละเอียดปลีกย่อยลงไป ตัวอย่างเช่น การเขียนสาระสำคัญในการสอนเรื่อง เป็นต้น

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ไปรับกระดาษกับอาจารย์กลุ่มละ 1 แผ่น ให้แต่ละกลุ่มวาดแหล่งน้ำลงไป แล้วให้เพื่อนทายชื่อสถานที่แหล่งน้ำนั้น

กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสร้างแท๊งน้ำ โดยอาจารย์จะแจกกระดาษหนังสือพิมพ์และเทปกาวให้อน่างจำกัด ให้ทำยังไงก็ได้ที่สามารถรับแรงของหนังสือทั้งหมดจำนวน 8 เล่ม โดยไม่ล้ม 

กิจกรรมที่ 3 อาจารย์แจกหลอดให้แต่ละกลุ่มจำนวน 10 อัน และลูกปิงปอง 1 ลูก ให้แต่ละกลุ่มสร้างฝายน้ำ และทำยังไงก็ได้ให้ลูกปิงปองกลิ้งได้นานที่สุด


รูปภาพกิจกรรม






วิดีโอของกลุ่มพวกเรา


🍓Assessment


💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำงานกับเพื่อนในกลุ่ม


💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา  เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มเป็นอย่างดี


💗Teacher : มีการแนะนำเพิ่มเติม และอธิบายให้เข้าใจยิ่งขึ้น