วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 7


Monday 16 September 2019 

🍓Knowledge Summary

     วันนี้เรียนรวม 2 ห้อง นำเสนอนวัตกรรมการศึกษาต่าง ๆ ที่ตนเองจับฉลากได้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน


💗กลุ่มที่ 1 นำเสนอนวัตกรรม "ไฮสโคป High Scope" 


     เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเพียเจต์ (Piaget)

    นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

1.การวางแผน (Plan) 
 
2.การปฏิบัติ (Do) 
 
3.การทบทวน (Review)

💗 ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก 


1.สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโดยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน

2.การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ

3.เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ



 💗กลุ่มที่ 2 นำเสนอนวัตกรรม "ไฮสโคป High Scope"


     วงล้อแห่งการเรียนรู้ของไฮสโคปคือ เมื่อเด็กได้ “เรียนรู้แบบลงมือทำ” เด็กจึงจะสร้างองค์ความรู้ได้ ตั้งแต่การมีส่วนเลือกและตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ เอง วิธีนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากกว่าการเป็นฝ่ายรับ การมี “ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น” ทั้งกับครูและเพื่อน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน จึงมีโอกาสแก้ปัญหาต่าง ๆ “การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้” ให้เด็กมีสื่อให้เล่นอิสระ หลากหลายและเพียงพอ การมี “กิจวัตรประจำวัน” จะทำให้เด็กได้พบประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะประสบการณ์เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะได้รับเมื่อผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ นั่นเอง จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของคุณครูที่เป็นผู้ทำ “การประเมิน” พัฒนาการเด็ก

💟 หัวใจของไฮสโคปเน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านการเล่น ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ส่งเสริมให้รู้จักคิดวิเคราะห์ได้และคิดสร้างสรรค์เป็น สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น โดยครูจะเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กเกิดกระบวนการ

วางแผน ลงมือทำ และทบทวน (PlanDo - Review)


💗กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรม "โปรเจคแอพโพส Project Approach"

     คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็ก ๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครู และทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา

👉 วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ

ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น

ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน



💗กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรม "STEM"

     คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

👉 สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

👉 สะเต็มมีลักษณะ 5 ประการ ได้แก่

1 เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ

2 ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ

3 เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

4 ท้าทายความคิดของนักเรียน

5 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น




🍓Assessment

💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์

💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับอาจารย์

💗Teacher : มีการทบทวนเรื่องที่เคยเรียนไป และสอนเข้าใจง่าย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น