วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 8

Monday 23 September 2019


 กลุ่มที่ 5 นำเสนอนวัตกรรม (Executive Functions) EF

     เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย

























 
1.Working memory

ความจำที่นำมาใช้งาน ➨ ความสามารถในการเก็บข้อมูล

2.Inhibitory Control

การยั้งคิด ➨ และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

3.Shift หรือ Cognitive Flexibility

การยืดหยุ่นความคิด ➨ สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น

4.Focus / Attention

การใส่ใจจดจ่อ ➨ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก

5.Emotional Control

การควบคุมอารมณ์ ➨ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น

6.Planning and Organizing

การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ ➨ เริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน

7.Self -Monitoring

การรู้จักประเมินตนเอง ➨ รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร

8.Initiating

การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด ➨ เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

9. Goal-Directed Persistence

ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย ➨ เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ

                                   


                                    

กลุ่มที่ 6 นำเสนอนวัตกรรม (Executive Functions) EF

     Executive Functions คือ กระบวนการทางความคิดในส่วน “สมองส่วนหน้า”

- เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการชีวิต

- โดยในช่วงวัย 3-6 ปีของเด็ก จะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก

- ในช่วงนี้สมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุด และหากพ้นจากช่วงเวลานี้ไป แม้ทักษะ EF จะยังมีการพัฒนาต่อได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงในปฐมวัย

-ซึ่งทักษะ EF นั้น จะช่วยกำกับพฤติกรรมและอารมณ์ ช่วยปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

-ช่วยให้สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหา วางแผน และจัดการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ดี

     จากการติดตาม EF ระยะยาวตั้งแต่อายุ 6-15 ปี

- พบว่าความจำใช้งานเริ่มชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่อายุ 6-12 ปี

-ในขณะที่ความยืดหยุ่นในการคิดวิเคราะห์จะมากขึ้นเรื่อยๆ

-ระหว่างอายุ 12-15 ปี การควบคุมยับยั้งจะสำคัญที่สุดและพัฒนามา

อย่างต่อเนื่อง


ประโยชน์ของ EF

•ส่งผลให้มีความจำดี มีสมาธิจดจ่อสามารถทำงานต่อเนื่องได้จนเสร็จ

•รู้จักการวิเคราะห์ มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ ลงมือทำงานได้

•เป็นคนที่อดทนได้ รอคอยเป็น มีความมุ่งมั่นพร้อมความรับผิดชอบที่จะไปสู่ความสำเร็จ


ข้อจำกัดของ EF


 ความจำไม่ดี เรียนรู้ไม่ได้ ทำผิดซ้ำซาก

•ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์เสียเมื่อต้องเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม

•อารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง เศร้าเสียใจยาวนาน

•มีปัญหาในการเข้าสังคม

•มีแนวโน้มเจ็บป่วยโรคจิตเภท เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ฯลฯ

•มีโอกาสตัดสินใจผิดพลาดในชีวิต เช่น เรียนไม่จบ หรือตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

•เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางสมอง เช่น สมาธิสั้น หรืออัลไซเมอร์




กลุ่มที่ 7 นำเสนอนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach

     การสอนแบบโครงการ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งให้ความสำคัญกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบจากการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กหรือครูร่วมกันกำหนดเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ แล้วดำเนินการ แสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหา โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งเรียนรู้

วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ

👉 ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ

👉 ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไรกำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

👉 ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอน
แบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะ
เด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จาก
แหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น

👉 ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ
ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับ
มอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัด
แสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน



     กลุ่มที่ 8 นำเสนอนวัตกรรม มอนเตสเซอรี่ (Montessori)


จุดมุ่งหมายของการศึกษาแบบมอนเตสเซอรี่ คือ "ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย "

ลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติของการพัฒนาของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ

เด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสซอรี่ จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเองและความรู้สึกของความรับผิดชอบ มีวิธีการที่จะควบคุมตนเองได้สำเร็จ





 กลุ่มที่ 10 นำเสนอนวัตกรรม มอนเตสเซอรี่ (Montessori)

หลักการของ Montessori
ในการศึกษาแนวทางของมอนเตสซอรี่มีหลักอยู่ 5 ประการ คือ

1. เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ผู้ใหญ่ จึงควรยอมรับในแบบที่เขาเป็น และพัฒนาเด็กไปตามจุดแข็ง

2. เด็กที่มีจิตซึมซาบได้ จิตใจของเด็กในวัยนี้เรียนรู้ ซึบซับ ข้อมูลทุกอย่างได้ง่ายมากๆ โดยเฉพาะอายุตั้งแต่เกิด ถึง 3 ขวบ ผ่านประสาทสัผัสด้าน การชิม การดมกลิ่นและการสัมผัส

3. ช่วงเวลาหลักของชีวิต ช่วงแรกจนถึง 6 ขวบเป็นช่วงที่สำคัญมากในการพัฒนาทั้ง สติปัญญาและจิตใจ ในช่วงนี้ควรีอิสระ ช่วงนี้เด็กๆ สามารถเรียนรุ้ทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ดังนั้นควรหมั่นสังเกตความสนใจ และเตรียมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกัน
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งการเรียนแบบมอนเตสซอรี่จะมีการเตรียมสภาพแวดล้อมให้เด็กๆ ไว้เป็นอย่างดี

5. การศึกษาด้วยตนเอง มอนเตสซอรี่มีความเชื่อว่า "ไม่ควรช่วยเด็กๆ ในสิ่งที่พวกเขาคิดว่าทำได้" การศึกษาด้วยตนเองทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่อระเบียบวินัย ได้ทดลองแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง และทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจพร้อมทั้งเกิดการเห็นคุณค่าในตนเอง



🍓Assessment


💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์


💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา  การนำเสนองานหลากหลายรูปแบบซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดี 

💗Teacher : อาจารย์แนะนำข้อที่ควรเพิ่มเติม และมีการอธิบายในส่วนที่เพื่อนพรียังไม่ชัดเจน



วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 7


Monday 16 September 2019 

🍓Knowledge Summary

     วันนี้เรียนรวม 2 ห้อง นำเสนอนวัตกรรมการศึกษาต่าง ๆ ที่ตนเองจับฉลากได้ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน


💗กลุ่มที่ 1 นำเสนอนวัตกรรม "ไฮสโคป High Scope" 


     เป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเพียเจต์ (Piaget)

    นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ

1.การวางแผน (Plan) 
 
2.การปฏิบัติ (Do) 
 
3.การทบทวน (Review)

💗 ประโยชน์ของแนวการสอนไฮสโคป (High Scope) ที่มีต่อเด็ก 


1.สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น ซึ่งเริ่มต้นจากความไว้วางใจโดยครูต้องเป็นผู้สร้างความไว้วางใจให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมหรือชิ้นงานตามความสนใจของตนเองและมีความสนุกในการเรียนรู้ที่จะทำงาน

2.การลงมือทำงานฝึกให้เด็กวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ

3.เด็กได้ฝึกสมาธิทำให้เด็กเกิดปัญญา ฝึกความมีระเบียบวินัย ฝึกการคิดอย่างมีความหมาย ผลที่ตามมาคือ ความสำเร็จในการทำงานที่ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้และมีความสุขในการทำงานที่ตนสนใจ



 💗กลุ่มที่ 2 นำเสนอนวัตกรรม "ไฮสโคป High Scope"


     วงล้อแห่งการเรียนรู้ของไฮสโคปคือ เมื่อเด็กได้ “เรียนรู้แบบลงมือทำ” เด็กจึงจะสร้างองค์ความรู้ได้ ตั้งแต่การมีส่วนเลือกและตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ เอง วิธีนี้เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากกว่าการเป็นฝ่ายรับ การมี “ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น” ทั้งกับครูและเพื่อน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน จึงมีโอกาสแก้ปัญหาต่าง ๆ “การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้” ให้เด็กมีสื่อให้เล่นอิสระ หลากหลายและเพียงพอ การมี “กิจวัตรประจำวัน” จะทำให้เด็กได้พบประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะประสบการณ์เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ที่เด็กจะได้รับเมื่อผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ นั่นเอง จากนั้นจะเป็นขั้นตอนของคุณครูที่เป็นผู้ทำ “การประเมิน” พัฒนาการเด็ก

💟 หัวใจของไฮสโคปเน้นให้เด็กเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านการเล่น ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับคน สิ่งของ เหตุการณ์ และความคิด ส่งเสริมให้รู้จักคิดวิเคราะห์ได้และคิดสร้างสรรค์เป็น สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น โดยครูจะเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กเกิดกระบวนการ

วางแผน ลงมือทำ และทบทวน (PlanDo - Review)


💗กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรม "โปรเจคแอพโพส Project Approach"

     คือวิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ได้ให้โอกาสเด็กปฐมวัยเรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ มีค่าต่อการเรียนรู้ การสืบค้นอาจทำโดยเด็กกลุ่มเล็ก ๆ หรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรืออาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่ง เพื่อหาคำตอบจากคำถามที่เด็กร่วมกันคิดด้วยกันกับเพื่อนหรือร่วมกันคิดกับครู และทำให้เกิดกระบวนการสืบค้นขึ้นมา

👉 วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ

ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา

ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น

ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน



💗กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรม "STEM"

     คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน

👉 สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

👉 สะเต็มมีลักษณะ 5 ประการ ได้แก่

1 เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ

2 ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ

3 เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

4 ท้าทายความคิดของนักเรียน

5 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น




🍓Assessment

💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์

💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับอาจารย์

💗Teacher : มีการทบทวนเรื่องที่เคยเรียนไป และสอนเข้าใจง่าย


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 6

Monday 9 September 2019



🍓Knowledge Summary


       อาจารย์ให้หาตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ออกมาทดลองสอนให้เพื่อนๆดู

 VDO การทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ




หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปอัดคลิปวีดีโอของลง Blog ของตนเอง 




VDO Teaching







🍓Assessment

💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์

💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับอาจารย์

💗Teacher : มีการทบทวนเรื่องที่เคยเรียนไป และสอนเข้าใจง่าย





วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 5

Monday 2 September2019


🍓Knowledge Summary

     วันนี้อาจารย์ให้มาเรียนรวมทั้ง 2 เซก เช้า-บ่าย และให้ลองเขียนแผนและทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และได้ทบทวนความรู้เดิม และเสริมความรู้ใหม่ที่ครูปฐมวัยควรรู้ให้ คือ คำว่า สมรรถนะ 

สมรรถนะ (Competency) 
  
     คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่นๆ ในองค์กร

Activity Pictures





🍓Assessment

💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์

💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับอาจารย์

💗Teacher : มีการทบทวนเรื่องที่เคยเรียนไป และสอนเข้าใจง่าย

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

Diary 4

Monday 26 August 2019


🍓Knowledge Summary


การเลือกหัวข้อที่จะสอน มีดังนี้    

     1.สิ่งที่เด็กสนใจ
     2.สิ่งที่ใกล้ตัวเด็ก
     3.สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
     4.เหมาะสมกับพัฒนาการ
     5.สาระที่ควรเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้ มีดังนี้    

     1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก     
     2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก     
     3.เรื่องธรมมชาติรอบตัว     
     4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

     หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่มและจับฉลากว่าแต่ละกลุ่มจะได้ทำสาระที่ควรเรียนรู้เกี่ยวกับอะไร หลังจากนั้นให้ปรึกษากันในกลุ่มว่าจะเลือกทำหน่วยอะไร สรุปออกมาเป็น Mind Mapping 

กลุ่มพวกเราได้หัวข้อ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก



กลุ่มเพื่อนๆ







Activity Pictures







🍓Assessment

💗Self : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์

💗Friend : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำงานและให้ความร่วมมือกับอาจารย์

💗Teacher : มีการทบทวนเรื่องที่เคยเรียนไป และสอนเข้าใจง่าย